การเขย่า เซียมซี เสี่ยงโชค มีเซียมซีจาก 3 วัดดัง ที่สามารถทำนายได้อย่างตรงจุด และแม่นยำที่สุด มาให้ชาวเรา ได้เลือกตามศรัทธา ตามความเชื่อส่วนบุคคล
เซียมซี เสี่ยงโชคลาภ
ในการเสี่ยงเซียมซี เป็นรูปแบบของการ ทำนายที่เก่าแก่ ศักดิ์สิทธิ์ และสืบทอดกันมา อย่างยาวนาน โดยคำทำนาย จะมีสัมผัสที่ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขอให้ท่านอธิษฐานจิต อย่างแน่วแน่ เพื่อให้ผลแห่ง โชคชะตา ปรากฏขึ้นได้อย่างแม่นยำที่สุด เมื่อจิตพร้อมแล้ว ก็ลงมือเสี่ยงเซียมซี โดยหยิบกระบอกเซียมซีมาเขย่า จนกว่าติ้วอันใดอันหนึ่ง จะตกสู่พื้น และหมายเลขที่ปรากฏบนติ้วนั้น จะเป็นคำทำนายโชคชะตาของท่าน ดูดวง มีเซียมซีจาก 3 วัดดัง ที่สามารถทำนายได้อย่างตรงจุด และแม่นยำที่สุด มาให้ชาวเรา ได้เลือกตามศรัทธา ตามความเชื่อส่วนบุคคล
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จ.เชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ ของ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูง ย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยม ปิดด้วยทองจังโก ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์ เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียร ก่อปูนประดับกระจก วัดพระธาตุดอยสุเทพ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๑๙๒๙ ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วน พระองค์ถึง ๑๓ ปี มาบรรจุไว้ที่นี่
ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคล เดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก ๘ ศอก กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชน ที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑
สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ได้ทรงโปรดฯ ให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง ๖ วา สูง ๑๑ ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทอง ใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. ๒๑๐๐ พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง ๒ ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และจนกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาว ถึง ๑๑.๕๓ กิโลเมตร
วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ตรงข้าม ศาลาว่าการกรุงเทพ มหานคร ข้างเสาชิงช้า เขตพระนคร ถือเป็นพระอารามประจำรัชกาลที่ ๘ เนื่องจากเมื่อคราวที่ท่านเสด็จ นิวัติพระนครเป็นครั้งแรก ได้เสด็จมาที่วัดนี้ และทรงปรารภว่า วัดสุทัศน์นี้ร่มเย็น น่าอยู่ ดังนั้นเมื่อรัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบรมเชษฐาธิราชเจ้าไว้ ณ ผ้าทิพย์ เบื้องหน้าฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต
วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท อยู่บนเส้นทางสาย อ่างทอง-สิงห์บุรี ที่ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ ๑๘ กม. เดิมเป็นวัดราษฏร์ โบราณสร้างมา แต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ แต่แรงสั่นสะเทือน ระหว่างการลงรากพระวิหาร ทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง หลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖.๑๐ เมตร สูง ๒๒.๖๕ เมตร แล้วพระราชทานนามว่า ” พระมหาพุทธพิมพ์ “
แนะนำ ทั้งสามวัดดังที่ใครๆ ก็ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี พวกเราชาวไทย ท่านใดใคร่สะดวกไปวัดใดก็ลองไปเซียมซีเสี่งทายกันดู โชคลาภอาจจะมาหาทุกๆทา่นในเร็วๆนี้ ขอให้ความสุขความเจริญ และความ ร่ำรวยได้ประสบกับทุกท่าน ที่สำคัญขับขี่เดินทางปลอดภัยด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://www.sanook.com/